วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 8: I can change!...New me

    จากฝึก storytelling ในครั้งที่ 1และ 2 ไปแล้ว มาดูพัฒนาการการเล่าเรื่อง 外国人ในครั้งสุดท้ายกันเลยว่าจะเป็นยังไง


เนื้อเรื่อง(storytelling เรื่อง外国人ครั้งสุดท้าย) :

 ホテルのロビーにソファーがあります。(はい)そのソファーにAさんとBさんが座っています。Aさんが新聞を読んでいて、Bさんが何もしないで座っています。(そうですか)はい、えっとBさんが座っているとき、地図を持って、首からカメラをかけている外国人と目が合ってしまいました。えっとBさんが外国人と目が合ってしまって、「あ!ちょっとやばい!どうしよう!」とBさんが思った瞬間に(はい)えっと外国人がBさんが座っているところに近づいて来ました。はい、Bさんが英語が話せないので、その外国人と話さないようにとなりのAさんといっしょに新聞を読んでしまいました。(ああ)その外国人がBさんがそんなことをしてしまって、ちょっと怒りました。(ええ)


内省:

  จากการได้เล่าเรื่องเดิมอีกครั้ง ในฐานะคนเล่าทำได้ไม่ค่อยดีนัก เพราะไม่ได้ทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการเล่าเรื่องมากเท่าไรและรู้สึกการเล่าไม่ต่างจากครั้งแรกมากนัก เพราะลืมคำศัพท์และวิธีการเขียนจากที่ได้แก้ไขในครั้งก่อน ครั้งนี้จึงมีการเล่าและใช้คำศัพท์เหมือนครั้งแรกเป็นส่วนใหญ่ คือใช้อธิบายยาวๆแทนการใช้คำศัพท์หนึ่งคำ เช่น นั่งเฉยๆ 「何もしないで座っています แอบหลังหนังสือพิมพ์いっしょに新聞を読んでしまいました」 แต่มีการเพิ่มการใช้คำว่า เดินเข้ามาใกล้ 「近づいて来ました」และใส่คำพูดเพิ่มเข้าไป ในฐานะคนฟัง ขณะที่ฟังเพื่อนพยายามตั้งใจฟังเรื่องที่เพื่อนเล่ามากขึ้นและพยายามตอบรับเพื่อนให้มากที่สุดเมื่อมีโอกาส ซึ่งต่างจากครั้งแรกที่ตอบรับโดยการพยักหน้าเฉยๆ  


วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 7: I can change!...I see

    หลังจากได้อ่านผลงาน11ชิ้นของคนญี่ปุ่นและได้เรียนเนื้อหาบางส่วนจากอาจารย์ ก็นำเนื้อเรื่องจากการฝึก story telling ในครั้งแรกไปแก้ไข มาดูกันเลยดีกว่าว่าต่างจากอันเดิมยังไง


     เนื้อเรื่องหลังจากแก้ไข:


 ホテルのロビーに、二人の男がソファーで座っている。男Aは新聞を広げ、男B はただ腰かけている。男Bは、カメラを首からふらさげ、地図を片手にどうやら道を探していたような外国人と目が合ってしまう。「あっやばい!」と男Bは思った瞬間、その外国人が男Bに近づいてきた。「これはまずい!きっと僕に道を聞くつもりだ。めんどくさいことになるぞ。どうしよう。」とっさに男Bは男Aの広げた新聞紙と胸の間に入り込んで顔を隠れましたのだが、外国人は何でこの男Bがそのようなことをするのかわからず驚いている。

  内省:
 หลังจากการอ่านการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นและคำศัพท์ที่ได้เรียนในห้องเรียน ทำให้เห็นวิธีการเขียน และคำศัพท์ต่างๆ  ซึ่งในการเขียนเล่าเรื่องในครั้งที่แล้ว ได้อธิบายเรื่องโดยใช้คำยืดยาวเกินไป และมีการลงท้ายประโยคด้วย「ます」กับ「て」เยอะ ในการเขียนครั้งนี้จึงพยายามทำให้เนื้อหาไม่ยืดยาว กระชับมากขึ้นและทำให้เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยครั้งนี้ใช้รูปประโยคแบบธรรมดา อธิบายตัวละคร โดยระบุตัวละครให้ชัดเจน (A、男B ..) และมีการอธิบายตัวละครชาวต่างชาติเพิ่มเข้ามา ในเรื่องการใช้คำศัพท์และการเขียนประโยค เนื่องจากตัวเองมีคลังคำศัพท์น้อยและมีการเรียงประโยคไม่ถูกต้องในครั้งที่แล้ว ในครั้งนี้พยายามใช้คำศัพท์ที่มีความหมายโดยตรงและไม่เขียนอธิบายยืดยาว เรียงประโยคให้ถูกต้อง โดยนำคำศัพท์และการเขียนประโยคของคนญี่ปุ่นมาใช้ในการเล่าเรื่อง เช่น「新聞を広げ、ただ腰かけている」、「新聞紙と胸の間に入り込んで และการใช้のか」เป็นต้น ซึ่งทำให้เนื้อเรื่องมีความกระชับและดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้ได้ใส่คำพูดเพิ่มเข้าไปเพื่อทำให้เนื้อเรื่องดูมีความสนุกสนานมากขึ้นตามการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่น

ตอนที่ 6: I can change!...By myself

        สวัสดีทุกคนน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในวิชาApp Jap Ling เราได้ฝึกเล่าเรื่องหรือ story telling  เป็นภาษาญี่ปุ่นและเรื่องที่เราได้เล่าฝึก story telling คือ เรื่อง外国人 มาดูกันเลยว่าการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นครั้งแรกของเราเป็นยังไง




    ถอดเทปครั้งแรก เรื่อง 外国人:

 あるロービーでソファーがありました。そのソファーが二人の男が座りました。一人の男が新聞を読んでいましたが、もう一人は何もしないで、座りました。あのう…あのう、そしてもう一人の外国人がいました。その外国人が地図を持っていて、何もしないで座っている男に目が会ってしまいました。あのう…あのう、何もしないで座っている男が外国人と目が会ってしまって、ちょっとびっくりして、その外国人が怖いみたいで、その外国人と話さないようにとなりの新聞を読んでいる男と新聞を読みました。その外国人はその男が新聞を読んでしまったと見て、この男はおかしいなと思いました。


   ในการฝึก story telling ครั้งแรกนี้ ตอนแรกคิดว่าเรื่องที่ต้องเล่านั้นไม่ยากมาก(ดูจากรูปเรื่อง赤ちゃんของเพื่อนดูยากกว่า) แต่พอเริ่มเล่า รู้สึกว่าเล่าไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เล่าไปเล่ามาก็รู้สึกงงตัวเอง เพราะไม่รู้คำศัพท์  ดังนั้นคำส่วนใหญ่ใช้การอธิบายยาวๆแทนใช้คำศัพท์หนึ่งคำเช่น นั่่งเฉยๆใช้อธิบายไปว่า「何もしていない 」ซ่อนตัวหลังหนังสือพิมพ์「新聞をいっしょに読みました 」หรือสบตา(ที่จริงที่ในเรื่องใช้คำว่า目が会うซึ่งเป็นคำที่ถูกแต่ที่จริงไปถามเพื่อนก่อนเล่า   -_-") เป็นต้น และด้วยความตื่นเต้นและไม่รู้ต้องเล่ายังไงต่อจนทำให้ลืมดูภาพประกอบในขณะเล่า ทำให้อธิบายตัวละครในเรื่องไม่ละเอียดพอ เช่นตอน พูดถึงตัวละครชาวต่างชาติ ก็ลืมอธิบายลักษณะทั้งหมด  นอกจากนี้พอฟังจากที่ได้เทปอีกทีจะมีช่วงที่ใช้คำว่า あのう, ช่วงที่พูดซ้ำคำเดิมหรือช่วงที่เงียบไปเลย เยอะมาก

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 5 : "私は「年齢」才VS歳!?"

      สวัสดีทุกคนน หลังจากผ่านอาทิตย์แห่งการสอบอันโหดร้ายไปแล้ว T-Tถึงเวลากลับมาฟิตๆๆกันต่อแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังสอบวิชาJap writeเสร็จ อาจารย์ก็ได้สั่งการบ้านที่จะต้องเรียนในอาทิตย์ถัดมา ซึ่งเป็นการเขียนประวัติในการสมัครงาน พอเราเปิดหนังสือมาดูปุ๊บ ก็เจอคำว่า "歳" คำนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันอยู่แล้วใช่ไหมม ว่าแปลว่า ปี (ใช้ในการบอกอายุ) แต่เวลาจะเขียนว่าฉันอายุ...คำลงท้ายของทุกคนเป็นยังไง สำหรับเราเวลาจะเขียนบอกอายุจะชอบเขียนว่า 私は...才มากกว่า เพราะมันเขียนง่ายกว่าและแถมความหมายเดียวด้วย (ทุกคนก็เป็นเหมือนเราใช่ไหม555)


      ดังนั้นเราจึงสงสัยว่า 「歳」และ 「才」 นั้นต่างกันยังไง และที่จริงแล้วควรจะใช้คำไหนในการบอกอายุกันแน่!!?และhttp://matome.naver.jp/odai/2140776364073496601 ก็ให้คำตอบกับเราว่า


   "คำที่ใช้บอกอายุที่ถูกต้องคือ 「歳」นั้นเอง"



  「歳」เป็นคำที่ใช้ในการบอกอายุมาตั้งแต่สมัยเฮอันและในปัจุจบันก็ใช้ในการบอกเกี่ยวกับจำนวนหรือเดือนปีด้วยเช่นกัน 例:一歳(หนึ่งขวบ) 、歳暮(ช่วงปลายปี)、歳月(วันเวลา) เป็นต้น



  「才」เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับความสามารถ พรสวรรค์ ความฉลาดของมนุษย์                     例:才能 (พรสวรรค์)、天才(อัจริยะ)、秀才(คนเก่ง คนฉลาดเป็นเลิศ) และคำนี้เป็นคำที่เด็กประถมได้เรียน ก่อนจะเรียนคำว่า「歳」ในตอนมัธยมต้น


*ในปัจจุบันมักเห็นการใช้「才」ในการบอกอายุเยอะขึ้นแม้แต่ในทีวี(ตรงซับไตเติ้ล) เพราะเขียนง่ายกว่า「歳」และเพื่อลดความยุ่งยากจึงมีการใช้「才」มากขึ้น 

 **แต่เวลาเขียนกรอกเอกสารต่างๆ ควรจะใช้ 「歳」แทน**

 หวังว่าทุกคนจะพอเข้าใจความต่างของ「歳」และ 「才」กันมากขึ้นนะ และสำหรับคนที่ชอบเขียน「才」เป็นประจำ(เหมือนเรา)อย่าลืมลองเปลี่ยนมาใช้「歳」ในการเขียนกันดูบ้างนะ ถึงแม้จะเขียนยากกว่าเดิม แต่เราก็จะลองเปลี่ยนมาใช้เหมือนกัน และไว้ครั้งหน้ามาพิชิตกันใหม่น้าา^^