จากโพสที่แล้ว ที่พูดถึงเรื่องชื่อเดือนแบบญี่ปุ่นสมัยโบราณ เรายังค้างกันอยู่ที่เดือน6 กันเนาะ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาดูชื่อชื่อเดือนแบบญี่ปุ่นสมัยโบราณของเดือน7-เดือน12 ต่อกันเลยยย^^
⑦文月(ふづき)
เดือน7:文月(ふづき)→เป็นเดือนที่มีวันสำคัญคือ “ทานาบาตะ” ซึ่งได้รับมาจากจีน เป็นการรับของใหม่มาผสมกับวัฒนธรรมเดิมที่มีอยู่จึงเรียกว่า文月 หรือฟุมิซึกิ 含み月
⑧葉月(はづき)
เดือน8:葉月(はづき)→ที่มาของชื่อเดือนนี้คือใบไม้จะเปลี่ยนเป็นสีแดงและร่วงหล่นลง(葉落ち月) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ(葉月)
⑨長月(ながつき)
เดือน9:長月(ながつき)→ว่ากันว่าเดือนแห่งกลางคืนที่ยาวนานหรือ夜長月(よながつき)
⑩神無月(かんなづき)
เดือน10:神無月(かんなづき)→ว่ากันว่าในเดือนนี้เทพเจ้าทั้งหลายจะมารวมตัวกันอยู่ที่ศาลเจ้าอิซูโมะ ซึ่งทำให้เป็นเดือนที่ไม่มีเทพเจ้า
⑪霜月(しもつき)
เดือน11:霜月(しもつき)→ตามตัวอักษรของเดือนนี้แปลว่าเดือนที่มีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น
⑫師走(しわす)
เดือน12:師走(しわす)→เป็นศัพท์ที่มีต้นกำเนิดมาจากสมัยเฮอัน มีความหมายตามอักษร(อักษร 師 แปลว่า พระสงฆ์)ว่าเป็นเดือนที่พระสงฆ์จะยุ่งอยู่แต่การทำกิจของสงฆ์ และเดือนนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า(ごくげつ / ごくづき : 極月)
ครบ 12 เดือนแล้ว เย่!! มีเดือนไหนที่ชอบเป็นพิเศษบ้างไหมเอ่ย ส่วนตัวเราชอบ เดือนที่5 皐月(さつき)ที่สุด เป็นช่วงดำนาทำให้นึกถึงตอนที่ได้ดำนาจริงๆ(ช่วงนี้อินกับเรื่องการเกษตร) สำหรับคนที่อ่านจบแล้ว ชอบหรือไม่ชอบยังไงหรืออยากแนะนำตรงไหน คอมเม้นคุยกันได้นะ .......
วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ตอนที่4: こんな月の読み方があるの!? ①
ก่อนหน้านี้เราเพิ่งรู้จากเพื่อนว่าชื่อเดือนในภาษาญี่ปุ่นนั้นไม่ได้อ่านได้แค่อย่างที่เราเรียนดันอยู่เพียงอย่างเดียว สำหรับเราและคนที่รู้ว่าชื่อเดือนในภาษาญี่ปุ่นคือ 一月、二月、三月… 十二月 คงรู้สึกงงเหมือนเราใช่มั้ย พอเราได้ยินอย่างงี้เลยไปเสริจหาข้อมูลและรู้ว่าชื่อเดือนที่เพื่อนบอกนั้น คือ"ชื่อเดือนแบบญี่ปุ่นโบราณ"นั้นเอง ซึ่งมีความยากกว่ามากก!! แต่ก็ถือว่าเป็นคำที่น่าสนใจอยู่เหมือน เลยอยากเอามาให้ทุกคนได้ลองดูกัน ก่อนอื่นขอบอกความเป็นมาของการเรียกชื่อเดือนแบบญี่ปุ่นโบราณสั้นก่อนนะ
"ชื่อเดือนแบบญี่ปุ่นโบราณถูกใช้ในสมัยเฮอัน ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ที่มาของชื่อเดือนส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับฤดูกาลนั้นๆหรือสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ในประเทศญี่ปุ่น
ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว แต่เราก็สามารถพบเห็นชื่อเดือนในบทกวีหรือนวนิยายต่างๆ ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อคนด้วย เช่น 皐月และ 弥生 ที่นิยมเอาไว้ตั้งชื่อของผู้หญิง"
"ชื่อเดือนแบบญี่ปุ่นโบราณถูกใช้ในสมัยเฮอัน ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ที่มาของชื่อเดือนส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับฤดูกาลนั้นๆหรือสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ในประเทศญี่ปุ่น
ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว แต่เราก็สามารถพบเห็นชื่อเดือนในบทกวีหรือนวนิยายต่างๆ ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อคนด้วย เช่น 皐月และ 弥生 ที่นิยมเอาไว้ตั้งชื่อของผู้หญิง"
เอาล่ะทุกคน!! มาดูกันเลยว่าชื่อ12เดือนแบบแบบญี่ปุ่นโบราณ มีอะไรกันบ้างง ไปดูกันเลยยย
เดือนที่1:睦月(むつき)→ว่ากันว่าเป็นเดือนที่เหล่าบรรดาเครือญาติได้มาพบปะสังสรรค์กันมากที่สุด จึงใช้คำว่า (睦び月) ที่แปลว่าเดือนแห่งความกลมเกลีย
เดือนที่2:如月(きさらぎ)→เป็นเดือนที่ยังหนาวอยู่เลยมีการใส่เสื้อผ้าเพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มความอบอุ่น(衣更着)
เดือนที่3:弥生(やよい)→เป็นเดือนที่พืชพันธุ์นั้นเจริญเติบโต แต่ก่อนเรียกสั้นว่ายาโยฮิ (やよひ) แล้วเสียงก็เพี้ยนเป็น(やよい)แบบปัจจุบัน
เดือนที่4:卯月(うづき)→เป็นเดือนแห่งดอกอุโนะฮานะ 卯の花月(うのはなづき)และชื่อของเดือนมาจากปีกระต่าย หรือ อุ (卯)
เดือนที่5:皐月(さつき)→เป็นเดือนแห่งการดำนาเรียกว่าซานาเอะซึกิ 早苗月(さなへつき)แต่เอาชื่อย่อมาเป็นชื่อว่า(さつき)
เดือนที่6:水無月(みなづき)→ดูตามอักษรแล้วจะแปลได้ว่าเดือนที่สิ้นสุดฤดูฝนและหมดน้ำแล้ว และอาจแปลได้ว่าเดือนที่ต้องเอาน้ำออกจากนาหรือ 水張月(みづはりづき)เรียกย่อๆก็จะได้ 水月(みなづき)
เพื่อไม่ให้เนื้อหาเยอะจนเกินไป ขอจบที่เดือน6ก่อนนะคะ แล้วไปพบต่อกับ เดือน7-12 ในโพสต่อไปค่าาา^^
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ตอนที่ 3: "" ซินเจี่ยยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ""
จากหัวข้อเรื่องในโพสนี้ ทุกคนเห็นแล้วอาจจะสงสัยว่า เอ้าไหนบอกว่าเป็นเพจภาษาญี่ปุ่น ไหงหัวข้อเรื่องไม่เห็นเกี่ยวกับภาษาญีุ่่ปุ่นเลย -_-'' ก็อื่นขอเราอธิบายที่มาของหัวข้อก่อนนะ เนื่องจากเดือนนี้นอกจากเป็นเดือนแห่งความรักแล้ว ยังมีวันสำคัญอีกวันสำหรับคนไทยเชื้อสายจีน คือ "วันตรุษจีน"นั้นเอง ^3^ ซึ่งเราก็เป็นอาหมวยไทยเชื้อสายจีนเช่นกัน แต่ดันเรียนภาษาญี่ปุ่น เหตุผลในการนำคำนี้มานั้น เนื่องจากเวลาจะพูดถึง"วันตรุษจีน" เป็นภาษาญี่ปุ่นสำหรับคนที่มีคำศัพท์น้อย(อย่างเรา)คงจะตอบ "中国のお正月" ซึ่งอันที่จริงคงไม่ใช้คำนี้อย่างแน่นอน จึงเป็นเหตุให้อยากรู้คำว่า "วันตรุษจีน"ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้องขึ้นมา ดังนั้นทุกๆคน อย่ารอช้า ไปพิชิต漢語ใหม่ๆที่มีความเกี่ยวข้องกับวันตรุษจีนกันเลย
旧正月(きゅうしょうがつ)
คำนี้มีความหมายว่า "วันตรุษจีน" ซึ่ง 旧 (きゅう) มีความหมายว่า เก่า(โบราณ) 正月 (しょうがつ) แปลว่า ปีใหม่ ดังนั้น 旧 (きゅう) + 正月 (しょうがつ) = วันปีใหม่แบบเก่า(โบราณ) ซึ่งวันปีใหม่แบบจีนนั้นจะยึดตามปฏิทินแบบเก่า (ตามจันทรคติ) ที่ต่างจากปฏิทินโดยทั่วไปที่วันใหม่ที่เป็นวันที่ 1 มกราคม แต่นอกจากคำนี้ ยังมีอีกหนึ่งคำที่มีความหมายว่า "วันตรุษจีน" เหมือนกัน คือ
春節(しゅんせつ) =วันตรุษจีน
คำนี้เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีนและดูเหมือนจะใช้ง่ายกว่าคำว่า旧正月เพราะเป็นตัว漢語ที่คุ้นเคยกัน แต่เนื่องจากตัวอักษร(春)นั้นมีความหมายเกี่ยวกับฤดูใบไม้ผลิ เป็นฤดูในเดือนมี.ค-พ.ค ซึ่งคงรู้สึกแปลกหากใช้คำนี้กับเทศกาลในช่วงเดือนก.พ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการใช้ คนญี่ปุ่นจึงนิยมใช้ 旧正月 มากกว่า 春節 สำหรับการกล่าวถึงวันตรุษจีน แต่ "春節" ยังมีปรากฎในบทความหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวันตรุษจีนบ้าง เช่น
旧正月(きゅうしょうがつ)
คำนี้มีความหมายว่า "วันตรุษจีน" ซึ่ง 旧 (きゅう) มีความหมายว่า เก่า(โบราณ) 正月 (しょうがつ) แปลว่า ปีใหม่ ดังนั้น 旧 (きゅう) + 正月 (しょうがつ) = วันปีใหม่แบบเก่า(โบราณ) ซึ่งวันปีใหม่แบบจีนนั้นจะยึดตามปฏิทินแบบเก่า (ตามจันทรคติ) ที่ต่างจากปฏิทินโดยทั่วไปที่วันใหม่ที่เป็นวันที่ 1 มกราคม แต่นอกจากคำนี้ ยังมีอีกหนึ่งคำที่มีความหมายว่า "วันตรุษจีน" เหมือนกัน คือ
春節(しゅんせつ) =วันตรุษจีน
คำนี้เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีนและดูเหมือนจะใช้ง่ายกว่าคำว่า旧正月เพราะเป็นตัว漢語ที่คุ้นเคยกัน แต่เนื่องจากตัวอักษร(春)นั้นมีความหมายเกี่ยวกับฤดูใบไม้ผลิ เป็นฤดูในเดือนมี.ค-พ.ค ซึ่งคงรู้สึกแปลกหากใช้คำนี้กับเทศกาลในช่วงเดือนก.พ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการใช้ คนญี่ปุ่นจึงนิยมใช้ 旧正月 มากกว่า 春節 สำหรับการกล่าวถึงวันตรุษจีน แต่ "春節" ยังมีปรากฎในบทความหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวันตรุษจีนบ้าง เช่น
「元宵節と今年の春節」
ที่มา http://yousworld.com/marugoto/htm/collabo25.htm
春節ー中国2015年の旧正月
ที่มา http://www.arachina.com/festivals/spring-festival/
ที่มา http://www.nankinmachi.or.jp/event/shunsetsu/2015/
ต่อไปนี้หากพูดถึงวันตรุษจีน หวังว่าทุกคนคงใช้คำว่า "旧正月"แทน "中国のお正月" กันนะก่อนจากกันขอฝากคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวันตรุษจีนสัดนิดนึง คำแรก เป็นสิ่งหนึ่งที่เด็กๆ(อย่างเรา)ชอบและรอรอคอยมาในเทศกาลนี้คือ "แต๊ะเอีย" หรือ "อั่งเปา" นั้นเอง ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า
お年玉(おとしだま)
คำต่อไป คือ "ประทัด" ที่มักจุดกันใช่วงเทศกาลนี้โดยเชื่อว่าจะขับไล่สิ่งชั่วร้าย ในภาษาญี่ปุ่น คือ
爆竹(ばくちく)
คำสุดท้ายก่อนจากกัน คือ "การเชิดสิงโต" เป็นการแสดงที่มักจะปรากฎในเทศกาลตรุษจีน โดยภาษาญี่ปุ่น คือ
獅子舞い(ししまい)
หวังว่าทุกคนคงจะได้รับความจากโพสนี้ไม่มากก็หน่อยนะ ไว้มาพิชิต 漢語กันใหม่อีกน้า สุขสันต์วันตรุษจีน^^
คำสุดท้ายก่อนจากกัน คือ "การเชิดสิงโต" เป็นการแสดงที่มักจะปรากฎในเทศกาลตรุษจีน โดยภาษาญี่ปุ่น คือ
獅子舞い(ししまい)
หวังว่าทุกคนคงจะได้รับความจากโพสนี้ไม่มากก็หน่อยนะ ไว้มาพิชิต 漢語กันใหม่อีกน้า สุขสันต์วันตรุษจีน^^
วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ตอนที่ 2: 遺憾「残念という意味!?」--[edit]
สวัสดีทุกคน ถึงเวลามาพิชิต漢語 ใหม่ๆแล้วว คำที่เราจะมานำเสนอคือคำว่า "遺憾" นั้นเองง เพื่อไม่ให้เสียเวลา มาดูกันเลยดีกว่าว่าคำนี้หมายความว่ายังไง
เหตุผลที่่เราเลือกคำนี้มาเพราะคำ「遺憾」มีความหมายคล้ายๆกับคำว่า「残念」คือ "ความรู้สึกเสียดายกับเหตุการณ์ต่างๆ" ซึ่่งเรามักจะคุ้นเคยและใช้กับคำว่า「残念」มากกว่า พอเจ็บคำนี้เลยสงสัยและอยากรู้ว่าความหมายและการใช้ของสองคำนี้มีความแตกต่างกันรึเปล่า ถ้าแตกต่างกันนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร เราเลยไปหาข้อมูลมาจากเว็บต่างๆ และได้ข้อสรุปว่า
「遺憾」→①มักจะปรากฏในข่าวอยู่บ่อยๆ เป็นคำที่นักการเมืองหรือผู้บริหารบริษัทใช้แสดงความเสียใจ กับเหตุการณ์ที่เศร้าโศกเสียใจหรือใช้ในการแถลงข่าวแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิด
**แสดงความรู้สึกเศร้าเสียใจรุนแรงกว่า「残念」**
例:หัวเรื่องข่าว
→②ใช้ในการแสดงความรู้สึกเสียดายหรือเสียใจกับขึ้นเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือการแก้ไขปรับปรุงไม่ได้
**ไม่ใช้แสดงความรู้สึกเศร้าเสียใจหรือเสียดายกับเหตุการณ์ทั่วไป**
例:家に帰ったら、私のケーキを弟が食べていた。誠に遺憾だ。
「残念」ใช้แสดงความเสียใจ เสียดายกับเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน
例:天気が悪くて残念だ。
หลังจากทุกคนอ่านโพสนี้แล้ว หวังว่าจะเข้าใจความหมายและความต่างของสองคำนี้ไม่มากก็น้อยนะ ไว้ครั้งหน้าเรามาพิชิตคำศัพท์ใหม่ๆกันต่อนะ เย่ๆๆ ^^
"遺憾"
「遺」มีความหมายว่า เหลือทิ้งไว้
「感」มีความหมายว่า เจ็บแค้น เรื่องที่กระทบกระเทือนเทือนจิตใจ
รวมกันแล้วมีความหมายว่า ความโศกเศร้าเสียใจ เสียดาย
เหตุผลที่่เราเลือกคำนี้มาเพราะคำ「遺憾」มีความหมายคล้ายๆกับคำว่า「残念」คือ "ความรู้สึกเสียดายกับเหตุการณ์ต่างๆ" ซึ่่งเรามักจะคุ้นเคยและใช้กับคำว่า「残念」มากกว่า พอเจ็บคำนี้เลยสงสัยและอยากรู้ว่าความหมายและการใช้ของสองคำนี้มีความแตกต่างกันรึเปล่า ถ้าแตกต่างกันนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร เราเลยไปหาข้อมูลมาจากเว็บต่างๆ และได้ข้อสรุปว่า
「遺憾」→①มักจะปรากฏในข่าวอยู่บ่อยๆ เป็นคำที่นักการเมืองหรือผู้บริหารบริษัทใช้แสดงความเสียใจ กับเหตุการณ์ที่เศร้าโศกเสียใจหรือใช้ในการแถลงข่าวแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิด
**แสดงความรู้สึกเศร้าเสียใจรุนแรงกว่า「残念」**
例:หัวเรื่องข่าว
<NHK>「政府方針見て」会長発言…経営委員が「遺憾」
麻薬売買の韓国人、中国で死刑執行=韓国外交部は遺憾表明、海外で死刑執行の韓国人は6人に―中国メディア
ที่มา http://news.livedoor.com/article/detail/9643861/
**ไม่ใช้แสดงความรู้สึกเศร้าเสียใจหรือเสียดายกับเหตุการณ์ทั่วไป**
例:家に帰ったら、私のケーキを弟が食べていた。誠に遺憾だ。
「残念」ใช้แสดงความเสียใจ เสียดายกับเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน
例:天気が悪くて残念だ。
หลังจากทุกคนอ่านโพสนี้แล้ว หวังว่าจะเข้าใจความหมายและความต่างของสองคำนี้ไม่มากก็น้อยนะ ไว้ครั้งหน้าเรามาพิชิตคำศัพท์ใหม่ๆกันต่อนะ เย่ๆๆ ^^
วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
=LANG 8=
สวัสดีอีกครั้งทุกคนนน
^3^ โพสนี้ขอเปลี่ยนจากการพิชิต漢語เป็นพิชิตภาษาญี่ปุ่น(ชั่วคราว)
สัปดาห์ที่แล้วได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ผู้สอน ให้เขียน研究(งานวิจัย)ของตัวเองลงในเว็บLang8 ซึ่งเป็นเว็บที่สามารถนำข้อความที่เขียนให้เจ้าของภาษานั้นตรวจความถูกต้องทางภาษาให้
เป้าหมายครั้งนี้คือดูข้อผิดพลาดและประมวลจากการแก้ภาษาของคนญี่ปุ่น
ซึ่งข้อความที่เราได้โพสลงในเว็บ Lang8 มีเนื้อความดังนี้
私は宗教のことに興味があります。タイ人と日本人の宗教は仏教なのに、この二つの国のお坊さんの生活が違います。なぜお坊さんの生活が違うかどんな生活か違うか知りたいですから、日本のお坊さんについての研究しています。
ดูจากข้อความที่ได้โพสลงในเว็บ
ในความคิดตอนนั้นคิดว่าข้อความที่ได้โพสลงไปไม่ได้มีอะไรผิดเพราะไม่ได้ใช้คำยากหรือไวยากรณ์ยากอะไร
แต่หลังจากได้โพสข้อความลงไปสักพัก ก็มีคนญี่ปุ่นใจดี1คน(นึกว่าจะไม่มีใครมาแก้ให้แล้ว)เข้ามาแก้ให้ ซึ่งประโยคที่โดนแก้คือ
私は宗教のことに興味があります。タイ人と日本人の宗教は仏教なのに、この二つの国のお坊さんの生活が違います。なぜお坊さんの生活が違うかどんな生活か違うか知りたいですから、日本のお坊さんについての研究しています。 (ประโยคที่โดนแก้)
คนญี่ปุ่นใจดีคนนี้แก้ประโยคนี้ เป็น
私は宗教のことに興味があります。タイ人と日本人の宗教は仏教なのに、この二つの国のお坊さんの生活が違います。なぜお坊さんの生活が違うのかどんなどのように生活か違うのか知りたいですから知りたくて、日本のお坊さんについての研究しています。
จากการได้รับการแก้โดยคนญี่ปุ่น
ทำให้เห็นข้อผิดพลาดและได้ประมวลความรู้ที่ได้รับจากการแก้ ซึ่งมี 3จุด ดังนี้
1.ไม่ควรลืมลงท้ายประโยคด้วย 「のか」ในประโยคคำถามที่พูดหรือรำพึงกับตัวเอง นอกจากการหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้รู้ว่า นอกจาก「のか」แล้วยังมีคำอื่นด้วยที่ใช้ลงท้ายประโยคประเภทนี้ เช่น 「だろうか」、「かな」、「のかな」และ「かしら」
2.การใช้คำวิเศษณ์ให้ถูกต้อง ในข้อความที่โพสได้แก้จาก「どんな」เป็น「どうのように」มีความหมายแปลว่า
" อย่างไร "ซึ่งเป็นความหมายที่ต้องการจะเขียนในครั้งแรก นอกจากนี้ยังได้ทวนคำวิเศษณ์ที่แปลว่า "อย่างไร"
อีกครั้ง คือ 「どう」、「どんなふうに」และ「なんと」
3.การใช้คำสันธานผิด ในข้อความได้ใช้「ですから」ลงท้าย เป็นคำสันธานที่ใช้บอกสาเหตุทั่วไป ซึ่งความหมายในประโยคนั้นไม่ได้ต้องการบอกสาเหตุ
ดังนั้นจึง ได้รับการแก้เป็นกริยารูป「て」แทน
ทำให้ประโยคแสดงถึงจุดประสงค์ในการทำวิจัยมากกว่าบอกสาเหตุทั่วไป
จากการที่ได้นำข้อความไปโพสลงในเว็บ Lang8 ทำให้เห็นข้อผิดพลาดของการใช้ภาษาและการได้เรียนรู้ภาษาจากเจ้าของภาษาไปพร้อมกัน
ซึ่งเว็บ Lang8นี้ถือว่ามีประโยชน์มากในการฝึกเขียนภาษาปุ่นและหากใครต้องการจะฝึกเขียนไม่ว่าจะภาษาอะไร
ก็อย่าลืมมาใช้บริการเว็บนี้น้า เขียนมาซะยาว
ขอตัดบทจบเลยรึกัน555 แล้วอย่าลืมมาพิชิต 漢語กันต่อในโพสต่อไปน้า^^
ตอนที่ 1: 移動VS異動
สวัสดีทุกคนนน
หลังจากห่างหายจากบล็อกไปนาน(มากๆๆ) ถึงเวลาที่จะมาพิชิต 漢語ใหม่ๆกันแล้ว!!! คำที่เราจะเสนอวันนี้ คือ 「移動」กับ「異動」 ทุกคนคงสงสัย ว่า โห!!!!จะเสนอคำว่า「 移動」ทำไม ไม่เห็นน่าสนใจเลย
ทุกคนก็รู้ความหมายของคำนี้อยู่แล้วใช่ไหม แต่เดี๋ยวก่อน เหตุผลที่เราเลือกคำนี้มาเพราะ 「移動」กับ「異動」 มีคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันคือ 「いどう」 นั้นเอง ถึงแม้คำสองคำนี้จะออกเสียงเหมือนกัน
มีความหมายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่คล้ายกัน แต่สองคำนี้มีการใช้ที่แตกต่างกันนะ
「移動」ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายตำแหน่งสิ่งของ
例:棚を移動します。
「異動」ใช้เกี่ยวกับเรื่องการทำงาน
เช่น การเปลี่ยนหน้าทางการงาน เปลี่ยนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนสถานที่ ทำงาน
例:私は数年間隔でいろいろな事務所を異動する。
สำหรับคำศัพท์ที่นำมาพิชิตวันนี้หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับทุกๆคนนะ แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนจากกันมีเคล็บ(ไม่)ลับในการจำคำศัพท์สองตัวนี้ โดยขอสรุปง่ายๆเป็นภาษาอังกฤษซึ่งอาจทำให้ง่ายต่อการจำคือ
「移動」=move และ「異動」=change นั้นเอง ^-^
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)