วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

=สรุปบล็อก=


เอนทรี่นี้ขอสรุปบล็อกคร่าวๆนะคะ


              --------------------------------------------------------------------------------------

ปัญหา :
             - เรื่องคำศัพท์และส่วนใหญ่คำศัพท์ที่รู้เป็นระดับพื้นฐาน
        - มักจะอธิบายคำหนึ่งคำเป็นคำยาวๆแทนที่จะใช้คำศัพท์เฉพาะ

ปัญหาเหล่านี้เลยเป็นสาเหตุที่ทำบล็อก漢語ค่ะ

               --------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะเนื้อหาของบล็อก :

1. นำเสนอคำที่รู้จักกันอยู่ สู่ 漢語 ใหม่ เช่น   

                                                                                    


  





    2.นำเสนอ 漢語โดยอิงจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น คำศัพท์ช่วงเทศกาล สื่อ  ข่าว เป็นต้น









                      --------------------------------------------------------------------------------------

อันนี้คือหนังสือและเพจในการหาคำศัพท์ที่น่าสนใจ ซึ่งคำศัพท์จะมาจากแหล่งความรู้เหล่านี้และการหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต




  =แหล่งคำศัพท์=

                         --------------------------------------------------------------------------------------

ประเมินผลการพัฒนา :

         - รู้จักคำศัพท์แปลกใหม่เพิ่มขึ้นจากการหาคำศัพท์
         - มีความกระตือรือร้นในการหาคำศัพท์ที่น่าสนใจมาอัพบล๊อก ทำให้ได้รู้จักแหล่งคำศัพท์และเพจที่เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น
         - รู้สึกมีความพยายามในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นจากที่รู้สึกไม่อยากเรียนภาษาญี่ปุ่นอีก
        - จากการทำ task ในห้องเรียน ทำให้ได้เรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นและสามาถนำมา output ใน task ที่มอบหมายได้
        - การใช้ Lang 8 ทำให้เห็นข้อผิดพลาดและสามารถแก้ไขภาษาญี่ปุ่นของตัวเองได้มากขึ้น และจะใช้ Lang 8 ให้บ่อยขึ้น เพื่อพัฒนาภาษาญี่ปุ่นต่อไป


"เป้าหมายหลังจากนี้ จะพยายามพัฒนาภาษาญี่ปุ่นของตัวเองให้ดีขึ้น ด้วยการหาคำศัพท์เพิ่มเติมและใช้เว็บหรือสื่อต่างๆที่อาจารย์ได้แนะนำในการพัฒนาภาษาญี่ปุ่นและพยายามoutput โดยนำคำศัพท์จากบล็อกไปใช้ เช่น การเขียน การอ่านหรือการสนทนากับเพื่อนหรือคนที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นให้มากขึ้นค่ะ"

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 11 色

         เมื่อวันก่อนหยิบหนังสือเล่มหนึ่งมาจากกองหนังสือ พอพลิกข้างหลังมาดูปุ๊บ บังเอิญเจอคำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสีปั๊บ 5555




    ดูจากรูป คำส่วนใหญ่อาจจะเป็นคำที่เคยเห็นและรู้จักกันอยู่แล้วเนาะ  เช่น 白(สีขาว)、赤(สีแดง) หรือ 青(สีฟ้า) เป็นต้น แต่ เอ๊ะ เอ๊ะ ดูดีๆ สิ่งที่น่าสนใจอยู่ตรงที่วงสีแดงนี้นั่นเอง  ^^


      เวลาพูดถึงสีชมพู ทุกคนจะตอบเป็นภาษาญี่ปุ่น ว่าอะไรกันบ้าง  ทุกคนคงจะตอบว่า  " ピンク " ที่เป็นตัวคะตะคานะกันใช่มั้ย(เราก็ตอบอย่างนี้เหมือนกัน555) แต่ที่จริงแล้ว " คำศัพท์เกี่ยวกับสีที่เป็นคาตาคะนะที่เราได้เรียนมานั้น บางคำก็สามารถเป็นคันโกะได้เหมือนกันนะ "  เรามาดูกันเลยว่ามีสีอะไรบ้าง




ピンク
 桃色(ももいろ)


 




オレンジ
橙(だいだい)







グレー
灰色(はいいろ)

          ครั้งนี้ขอจบไปด้วย 3 คำนี้ก่อนนะ หวังว่าเมื่อทุกคนเห็นคำเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนนึกออกว่าเป็นสีอะไรกันนะ ไว้ครั้งหน้ามาฟิตๆพิชิตกันต่อนะทุกคนน  ^^



วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 10  出没!ジャパンですよ

  ถึงเวลากลับมาฟิตๆกันต่อแล้ว ช่วงนี้งานเยอะมาก ต้องหาอะไรดูแก้เครียดซะหน่อย แล้วบังเอิญเราไปเจอรายการญี่ปุ่นชื่อว่า    "出没!   ジャパンですよ"  พอดี ซึ่งเป็นรายการที่ต้องการให้เด็กๆทั่วโลกได้­เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นโดยส่งดาราญี่ปุ่นไปเป็นครูพิเศษตามโรงเรี­ยนต่างๆทั่วโลกเพื่อสอนเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่นให้แก่เ­ด็กๆ ดังนั้นอย่ารอช้า เรามาฟิตๆพิชิตคำศัพท์จากรายการนี้กันเลยยย


                                                    


       

                                               ตอน     โรงเรียนในอิตาลีและไทย

   คำศัพท์ที่น่าสนใจให้เราฟิตๆพิชิตกัน คือ


                                 ①興奮(こうふん)する

  
    คำว่า " 興奮 "(こうふん) นั้นโดยความหมายทั่วไปแปลว่า  อารมณ์ตื่นเต้น , ความตื่นเต้น และคำนี้มีการนำไปใช้ในทาง 生理学(จิตวิทยา) และ 精神科(ประสาทวิทยา) ซึ่งมีความหมาย
        ทาง 生理学(สรีรวิทยา) คือ สภาพหยุดนิ่งชั่วคราวเมื่อเกิดการตอบสนองจากการกระตุ้นเซลล์ในร่างกาย
        ทาง精神科(จิตเวช) คือ สิ่งที่เกิดจากการที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ จิตใจ เช่น การติดสุราเรื้อรัง 



                                        驚愕(きょうがく)する

               คำว่า驚愕 "(きょうがく) น้้นมีความหมายว่า รู้สึกตกใจ ประหลาดใจ ซึ่งคำนี้มีวิธีการใช้และความหมายเหมือนกับคำว่า " 驚く " คือแสดงความตกใจต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่ไม่คาดคิดว่าจะเจอ

 **นอกจากนี้ยังมีคำมีความหมายคล้ายกันด้วย คือคำว่า 驚嘆 " (きょうたん) ซึ่งมีความหมายว่ารู้สึกตกใจ ประหลาดใจ  เหมือนกัน แต่คำนี้จะมีการใช้ที่ต่างกัน คือ คำนี้ใช้แสดงความตกใจ หรือประหลาดใจที่เหตุการณ์หรือเรื่องนั้นดีกว่าที่คิดไว้ **

 เป็นไงกันบ้างคำศัพท์ในการฟิตๆพิชิตครั้งนี้ หวังว่าทุกคนจะได้รู้คำคำศัพท์เพิ่มไม่มากก็น้อยนะ และสำหรับใครอยากดูรายการนี้เต็มๆ สามารถดูตามลิงค์นี้ได้เลย ↓
https://www.youtube.com/watch?v=bHlBEvpydzM   (สามารถเปิดซับไทยหรือปิดซับเพื่อฝึกฟังภาษาญี่ปุ่นกันได้ ตรง "คำบรรยาย"แถบข้างล่างคลิปเลยจ้า ^-^ )


วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

ตอนที่ 9 マナー看板

   ช่วงนี้ที่ญี่ปุ่นดอกซากุระ เริ่มผลิบาน(แต่ช่วงนี้งานเยอะ ใจของฉันช่างแห้งเหี่ยว เฮ้ย!555) มาๆๆขอเข้าเรื่องอย่างจริงจัง ไม่เล่นๆ555 เนื่องจากช่วงนี้ที่ญี่ปุ่นซากุระเริ่มบาน ทำให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นกันเยอะ รวมทั้งนักแสดงของไทยบางกลุ่มด้วย เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่ากลุ่มนักแสดงHormones วัยว้าวุ่น ประพฤติตัวไม่เหมาะสม โดยการเต้นกันบนรถไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นซึ่งถือว่าผิดต่อมารยาทการใช้รถไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นอย่างมาก


                                            อ่านข่าว่พิ่มเติมhttp://www.thaich.net/news/20150404c.htm

แต่สิ่งที่น่าสนใจจากข่าวนี้ไม่ได้อยู่ที่เนื้อข่าว แต่อยู่ป้ายเตือนเรื่องมารยาทในประเทศญี่ปุ่นนั้นเอง ซึ่งระหว่างเราคำวิจารณ์ข่าวนี้ เราได้เห็นคนโพสป้ายเตือนเรื่องมารยาทบนรถไฟที่เป็นภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นครั้งนี้จะขอนำเสนอคำศัพท์ที่มาจากป้ายเตือนต่างๆในญี่ปุ่นกัน 
**ครั้งนี้เรามาดูคำศัพท์จากป้ายและแปลความหมายไปด้วยกันเลยย**


ป้ายเตือนนี้เป็นป้ายที่มาจากการอ่านคำวิจารณ์เกี่ยวกับข่าวนี้ เป็นเตือนมารยาทบนรถไฟญี่ปุ่น เรามาดูคำศัพท์จากป้ายนี้กัน

マナーモード=manner mode หรือ ระบบมีมารยาท
設定(せってい)=ติดตั้ง สร้าง กำหนด
通話(つうわ)=การคุยโทรศัพท์
遠慮(えんりょ)=ความเกรงใจ

จากคำศัพท์ เราแปลป้ายนี้ได้ว่า  (อ๊ะ อ๊ะ!.... ลองแปลก่อนดูข้างล่างนะ)
















                                   









                --------------------------------------------------------------------


ป้ายเตือนนี้เป็นป้ายเตือนเกี่ยวกับการสูบบุหรี่

路上(ろじょう)=ตามถนน , บนท้องถนน
喫煙(きつえん)=การสูบบุหรี่
禁止(きんし)=การห้าม

จากคำศัพท์ เราแปลป้ายนี้ได้ว่า  (อ๊ะ อ๊ะ!.... ลองแปลก่อนดูข้างล่างนะ)







                                   ↓










                    ---------------------------------------------------------------------



ป้ายเตือนนี้เป็นป้ายเตือนเกี่ยวกับการทิ้งขยะ

不法投棄(ふほうとうき)=การลักลอก(แอบ)ทิ้ง
禁止(きんし)=การห้าม
監視カメラ(かんしカメラ)=กล้องวงจรปิด
作動(さどう)=การทำงาน , การเดินเครื่อง(เครื่องจักร)
(**作動中(さどうちゅう)=อยู่ในระหว่าง(เครื่อง)ทำงาน**)

จากคำศัพท์ เราแปลป้ายนี้ได้ว่า  (อ๊ะ อ๊ะ!.... ลองแปลก่อนดูข้างล่างนะ)







                                                    
                                      












 --------------------------------------------------------------------



ป้ายเตือนนี้เป็นป้ายเตือนเกี่ยวกับการพาน้องหมาไปเดินเล่น

糞(ふん)=อุจจาระ
尿(にょう)=ปัสสาวะ
厳禁(げんきん)=การห้ามโดยเด็ดขาด

จากคำศัพท์ เราแปลป้ายนี้ได้ว่า  (อ๊ะ อ๊ะ!.... ลองแปลก่อนดูข้างล่างนะ)









                                     











 --------------------------------------------------------------------




ป้ายเตือนนี้เป็นป้ายเตือนในสวนสาธารณะ

放流(ほうりゅう)=การปล่อย(น้ำจากที่กัก ,  ปลาลงสู่แม่น้ำ)
禁止(きんし)=การห้าม
ブルーギル=ปลาบลูกิล(Blur gill)
ブラックパス=ปลาแบล็คแบส(Black bass)
外来魚(がいらいぎょ)=พันธุ์ปลา

จากคำศัพท์ เราแปลป้ายนี้ได้ว่า  (อ๊ะ อ๊ะ!.... ลองแปลก่อนดูข้างล่างนะ)








                                    











                --------------------------------------------------------------------


ป้ายสุดท้ายแล้ว(เย่ๆๆ) ป้ายนี้เป็นป้ายเกี่ยวการห้ามให้อาหารสัตว์

野良犬(のらいぬ)=สุนัขจรจัด
野良猫(のらねこ)=แมวจรจัด

จากคำศัพท์ เราแปลป้ายนี้ได้ว่า  (อ๊ะ อ๊ะ!.... ลองแปลก่อนดูข้างล่างนะ)








                                    












เป็นไงกันบ้างทุกคนหวังว่าคงสนุกกับการแปลป้ายเตือนและรู้จักป้ายเตือนต่างในประเทศญี่ปุ่นกันมากขึ้นนะ ครั้งขอจบการนำเสนอไว้แค่นี้ ไว้มาฟิตๆพิชิตกันต่อนะ ^3^






วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 8: I can change!...New me

    จากฝึก storytelling ในครั้งที่ 1และ 2 ไปแล้ว มาดูพัฒนาการการเล่าเรื่อง 外国人ในครั้งสุดท้ายกันเลยว่าจะเป็นยังไง


เนื้อเรื่อง(storytelling เรื่อง外国人ครั้งสุดท้าย) :

 ホテルのロビーにソファーがあります。(はい)そのソファーにAさんとBさんが座っています。Aさんが新聞を読んでいて、Bさんが何もしないで座っています。(そうですか)はい、えっとBさんが座っているとき、地図を持って、首からカメラをかけている外国人と目が合ってしまいました。えっとBさんが外国人と目が合ってしまって、「あ!ちょっとやばい!どうしよう!」とBさんが思った瞬間に(はい)えっと外国人がBさんが座っているところに近づいて来ました。はい、Bさんが英語が話せないので、その外国人と話さないようにとなりのAさんといっしょに新聞を読んでしまいました。(ああ)その外国人がBさんがそんなことをしてしまって、ちょっと怒りました。(ええ)


内省:

  จากการได้เล่าเรื่องเดิมอีกครั้ง ในฐานะคนเล่าทำได้ไม่ค่อยดีนัก เพราะไม่ได้ทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการเล่าเรื่องมากเท่าไรและรู้สึกการเล่าไม่ต่างจากครั้งแรกมากนัก เพราะลืมคำศัพท์และวิธีการเขียนจากที่ได้แก้ไขในครั้งก่อน ครั้งนี้จึงมีการเล่าและใช้คำศัพท์เหมือนครั้งแรกเป็นส่วนใหญ่ คือใช้อธิบายยาวๆแทนการใช้คำศัพท์หนึ่งคำ เช่น นั่งเฉยๆ 「何もしないで座っています แอบหลังหนังสือพิมพ์いっしょに新聞を読んでしまいました」 แต่มีการเพิ่มการใช้คำว่า เดินเข้ามาใกล้ 「近づいて来ました」และใส่คำพูดเพิ่มเข้าไป ในฐานะคนฟัง ขณะที่ฟังเพื่อนพยายามตั้งใจฟังเรื่องที่เพื่อนเล่ามากขึ้นและพยายามตอบรับเพื่อนให้มากที่สุดเมื่อมีโอกาส ซึ่งต่างจากครั้งแรกที่ตอบรับโดยการพยักหน้าเฉยๆ  


วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 7: I can change!...I see

    หลังจากได้อ่านผลงาน11ชิ้นของคนญี่ปุ่นและได้เรียนเนื้อหาบางส่วนจากอาจารย์ ก็นำเนื้อเรื่องจากการฝึก story telling ในครั้งแรกไปแก้ไข มาดูกันเลยดีกว่าว่าต่างจากอันเดิมยังไง


     เนื้อเรื่องหลังจากแก้ไข:


 ホテルのロビーに、二人の男がソファーで座っている。男Aは新聞を広げ、男B はただ腰かけている。男Bは、カメラを首からふらさげ、地図を片手にどうやら道を探していたような外国人と目が合ってしまう。「あっやばい!」と男Bは思った瞬間、その外国人が男Bに近づいてきた。「これはまずい!きっと僕に道を聞くつもりだ。めんどくさいことになるぞ。どうしよう。」とっさに男Bは男Aの広げた新聞紙と胸の間に入り込んで顔を隠れましたのだが、外国人は何でこの男Bがそのようなことをするのかわからず驚いている。

  内省:
 หลังจากการอ่านการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นและคำศัพท์ที่ได้เรียนในห้องเรียน ทำให้เห็นวิธีการเขียน และคำศัพท์ต่างๆ  ซึ่งในการเขียนเล่าเรื่องในครั้งที่แล้ว ได้อธิบายเรื่องโดยใช้คำยืดยาวเกินไป และมีการลงท้ายประโยคด้วย「ます」กับ「て」เยอะ ในการเขียนครั้งนี้จึงพยายามทำให้เนื้อหาไม่ยืดยาว กระชับมากขึ้นและทำให้เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยครั้งนี้ใช้รูปประโยคแบบธรรมดา อธิบายตัวละคร โดยระบุตัวละครให้ชัดเจน (A、男B ..) และมีการอธิบายตัวละครชาวต่างชาติเพิ่มเข้ามา ในเรื่องการใช้คำศัพท์และการเขียนประโยค เนื่องจากตัวเองมีคลังคำศัพท์น้อยและมีการเรียงประโยคไม่ถูกต้องในครั้งที่แล้ว ในครั้งนี้พยายามใช้คำศัพท์ที่มีความหมายโดยตรงและไม่เขียนอธิบายยืดยาว เรียงประโยคให้ถูกต้อง โดยนำคำศัพท์และการเขียนประโยคของคนญี่ปุ่นมาใช้ในการเล่าเรื่อง เช่น「新聞を広げ、ただ腰かけている」、「新聞紙と胸の間に入り込んで และการใช้のか」เป็นต้น ซึ่งทำให้เนื้อเรื่องมีความกระชับและดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้ได้ใส่คำพูดเพิ่มเข้าไปเพื่อทำให้เนื้อเรื่องดูมีความสนุกสนานมากขึ้นตามการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่น

ตอนที่ 6: I can change!...By myself

        สวัสดีทุกคนน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในวิชาApp Jap Ling เราได้ฝึกเล่าเรื่องหรือ story telling  เป็นภาษาญี่ปุ่นและเรื่องที่เราได้เล่าฝึก story telling คือ เรื่อง外国人 มาดูกันเลยว่าการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นครั้งแรกของเราเป็นยังไง




    ถอดเทปครั้งแรก เรื่อง 外国人:

 あるロービーでソファーがありました。そのソファーが二人の男が座りました。一人の男が新聞を読んでいましたが、もう一人は何もしないで、座りました。あのう…あのう、そしてもう一人の外国人がいました。その外国人が地図を持っていて、何もしないで座っている男に目が会ってしまいました。あのう…あのう、何もしないで座っている男が外国人と目が会ってしまって、ちょっとびっくりして、その外国人が怖いみたいで、その外国人と話さないようにとなりの新聞を読んでいる男と新聞を読みました。その外国人はその男が新聞を読んでしまったと見て、この男はおかしいなと思いました。


   ในการฝึก story telling ครั้งแรกนี้ ตอนแรกคิดว่าเรื่องที่ต้องเล่านั้นไม่ยากมาก(ดูจากรูปเรื่อง赤ちゃんของเพื่อนดูยากกว่า) แต่พอเริ่มเล่า รู้สึกว่าเล่าไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เล่าไปเล่ามาก็รู้สึกงงตัวเอง เพราะไม่รู้คำศัพท์  ดังนั้นคำส่วนใหญ่ใช้การอธิบายยาวๆแทนใช้คำศัพท์หนึ่งคำเช่น นั่่งเฉยๆใช้อธิบายไปว่า「何もしていない 」ซ่อนตัวหลังหนังสือพิมพ์「新聞をいっしょに読みました 」หรือสบตา(ที่จริงที่ในเรื่องใช้คำว่า目が会うซึ่งเป็นคำที่ถูกแต่ที่จริงไปถามเพื่อนก่อนเล่า   -_-") เป็นต้น และด้วยความตื่นเต้นและไม่รู้ต้องเล่ายังไงต่อจนทำให้ลืมดูภาพประกอบในขณะเล่า ทำให้อธิบายตัวละครในเรื่องไม่ละเอียดพอ เช่นตอน พูดถึงตัวละครชาวต่างชาติ ก็ลืมอธิบายลักษณะทั้งหมด  นอกจากนี้พอฟังจากที่ได้เทปอีกทีจะมีช่วงที่ใช้คำว่า あのう, ช่วงที่พูดซ้ำคำเดิมหรือช่วงที่เงียบไปเลย เยอะมาก

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 5 : "私は「年齢」才VS歳!?"

      สวัสดีทุกคนน หลังจากผ่านอาทิตย์แห่งการสอบอันโหดร้ายไปแล้ว T-Tถึงเวลากลับมาฟิตๆๆกันต่อแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังสอบวิชาJap writeเสร็จ อาจารย์ก็ได้สั่งการบ้านที่จะต้องเรียนในอาทิตย์ถัดมา ซึ่งเป็นการเขียนประวัติในการสมัครงาน พอเราเปิดหนังสือมาดูปุ๊บ ก็เจอคำว่า "歳" คำนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันอยู่แล้วใช่ไหมม ว่าแปลว่า ปี (ใช้ในการบอกอายุ) แต่เวลาจะเขียนว่าฉันอายุ...คำลงท้ายของทุกคนเป็นยังไง สำหรับเราเวลาจะเขียนบอกอายุจะชอบเขียนว่า 私は...才มากกว่า เพราะมันเขียนง่ายกว่าและแถมความหมายเดียวด้วย (ทุกคนก็เป็นเหมือนเราใช่ไหม555)


      ดังนั้นเราจึงสงสัยว่า 「歳」และ 「才」 นั้นต่างกันยังไง และที่จริงแล้วควรจะใช้คำไหนในการบอกอายุกันแน่!!?และhttp://matome.naver.jp/odai/2140776364073496601 ก็ให้คำตอบกับเราว่า


   "คำที่ใช้บอกอายุที่ถูกต้องคือ 「歳」นั้นเอง"



  「歳」เป็นคำที่ใช้ในการบอกอายุมาตั้งแต่สมัยเฮอันและในปัจุจบันก็ใช้ในการบอกเกี่ยวกับจำนวนหรือเดือนปีด้วยเช่นกัน 例:一歳(หนึ่งขวบ) 、歳暮(ช่วงปลายปี)、歳月(วันเวลา) เป็นต้น



  「才」เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับความสามารถ พรสวรรค์ ความฉลาดของมนุษย์                     例:才能 (พรสวรรค์)、天才(อัจริยะ)、秀才(คนเก่ง คนฉลาดเป็นเลิศ) และคำนี้เป็นคำที่เด็กประถมได้เรียน ก่อนจะเรียนคำว่า「歳」ในตอนมัธยมต้น


*ในปัจจุบันมักเห็นการใช้「才」ในการบอกอายุเยอะขึ้นแม้แต่ในทีวี(ตรงซับไตเติ้ล) เพราะเขียนง่ายกว่า「歳」และเพื่อลดความยุ่งยากจึงมีการใช้「才」มากขึ้น 

 **แต่เวลาเขียนกรอกเอกสารต่างๆ ควรจะใช้ 「歳」แทน**

 หวังว่าทุกคนจะพอเข้าใจความต่างของ「歳」และ 「才」กันมากขึ้นนะ และสำหรับคนที่ชอบเขียน「才」เป็นประจำ(เหมือนเรา)อย่าลืมลองเปลี่ยนมาใช้「歳」ในการเขียนกันดูบ้างนะ ถึงแม้จะเขียนยากกว่าเดิม แต่เราก็จะลองเปลี่ยนมาใช้เหมือนกัน และไว้ครั้งหน้ามาพิชิตกันใหม่น้าา^^  


วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

こんな月の読み方があるの!? ②

         จากโพสที่แล้ว ที่พูดถึงเรื่องชื่อเดือนแบบญี่ปุ่นสมัยโบราณ เรายังค้างกันอยู่ที่เดือน6 กันเนาะ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาดูชื่อชื่อเดือนแบบญี่ปุ่นสมัยโบราณของเดือน7-เดือน12 ต่อกันเลยยย^^


                      ⑦文月(ふづき)



           เดือน7:文月(ふづき)เป็นเดือนที่มีวันสำคัญคือ “ทานาบาตะ” ซึ่งได้รับมาจากจีน เป็นการรับของใหม่มาผสมกับวัฒนธรรมเดิมที่มีอยู่จึงเรียกว่า文月 หรือฟุมิซึกิ 含み月

                      ⑧葉月(はづき)



           เดือน8:葉月(はづき)→ที่มาของชื่อเดือนนี้คือใบไม้จะเปลี่ยนเป็นสีแดงและร่วงหล่นลง(葉落ち月)  หรืออีกชื่อหนึ่งคือ(葉月)

                      ⑨長月(ながつき)




            เดือน9:長月(ながつき)→ว่ากันว่าเดือนแห่งกลางคืนที่ยาวนานหรือ夜長月(よながつき)

                   ⑩神無月(かんなづき)




            เดือน10:神無月(かんなづき)→ว่ากันว่าในเดือนนี้เทพเจ้าทั้งหลายจะมารวมตัวกันอยู่ที่ศาลเจ้าอิซูโมะ ซึ่งทำให้ป็นเดือนที่ไม่มีเทพเจ้า

                      ⑪霜月(しもつき)




             เดือน11:霜月(しもつき)→ตามตัวอักษรของเดือนนี้แปลว่าเดือนที่มีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น

                       
                       ⑫師走(しわす)




             เดือน12:師走(しわす)เป็นศัพท์ที่มีต้นกำเนิดมาจากสมัยเฮอัน มีความหมายตามอักษร(อักษร 師 แปลว่า พระสงฆ์)ว่าเป็นเดือนที่พระสงฆ์จะยุ่งอยู่แต่การทำกิจของสงฆ์ และเดือนนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า(ごくげつ / ごくづき : 極月)

              ครบ 12 เดือนแล้ว เย่!! มีเดือนไหนที่ชอบเป็นพิเศษบ้างไหมเอ่ย ส่วนตัวเราชอบ เดือนที่5 皐月(さつき)ที่สุด เป็นช่วงดำนาทำให้นึกถึงตอนที่ได้ดำนาจริงๆ(ช่วงนี้อินกับเรื่องการเกษตร) สำหรับคนที่อ่านจบแล้ว ชอบหรือไม่ชอบยังไงหรืออยากแนะนำตรงไหน คอมเม้นคุยกันได้นะ .......